The Garden Pub & Restaurant(เดอะการ์เด้นท์ผับแอนด์เรสโทรองต์) ตั้งอยู่บนชั้น 5 โรงแรมฟรายเดย์ หรูหรา บรรยากาศดี ฟังดนตรีวงใหญ่ BIG BOY BRAND โชว์เพลงยุค 70 เพลงสตริงฮิตทั้งเก่าและใหม่เต็มอิ่มกับรสชาติอาหารที่มีให้เลือกสรร ไทย จีน ยุโรป และอาหารญี่ปุ่น พร้อมการบริการที่สุภาพและเป็นกันเอง
5.17.2553
WING-ON KARAOKE
วันนี้ขอแนะนำคาราโอเกะที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ วิง-ออน คาราโอเกะ อยู่บนชั้น 5 โรงแรมฟรายเดย์ สร้างแรงบันดาลใจด้วยเสียงเพลงในตัวคุณ ห้องร้องเพลงระดับ VIP หลากหลายสไตล์ ตกแต่งอย่างสวยหรู จัดแต่งแบบทันสมัย,สไตล์ญี่ปุ่น พิเศษสุดกับห้องคาราโอเกะที่รองรับลูกค้าได้มากกว่า 25 ท่าน เหมาะกับการจัดเลี้ยง เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยี่ ระบบเสียงคุณภาพเยี่ยม โปรแกรมเลือกร้องเพลงที่ทันสมัย มีเพลงให้คุณเลือกร้องมากกว่า 30,000 เพลง
เต็มเปี่ยมกับการต้อนรับและการบริการที่แสนประทับใจจากโฮสเตสสาวสวยและพนักงานมืออาชีพ เปิดบริการตั้งแต่ 20.00 น.
เต็มเปี่ยมกับการต้อนรับและการบริการที่แสนประทับใจจากโฮสเตสสาวสวยและพนักงานมืออาชีพ เปิดบริการตั้งแต่ 20.00 น.
4.20.2553
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
เป็นเขตติดต่อระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดกับเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการบรรจุให้เป็น UNSEEN IN THAILAND ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 พศจิกายน 2543 ด้านบนมีลานดอกหงอนพยานาค และต้นกระโถนฤาษี พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีจุดตั้งเต้นท์พักแรมและลูกหาบบริการ ควรขึ้นไปเที่ยวชมในช่วงเดือน ตุลาคม-มกราคม เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่สวยงามมาก
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ต.ห้วยมุ่น อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์ 53110โทรศัพท์ 0 5543 6001-2 อีเมล phusoidao07@hotmail.com
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
ต.ห้วยมุ่น อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 53110 โทรศัพท์ 0 5543 6001-2 Email : phusoidao@hotmail.com
ปฏิทินการจองที่พัก-บริการ
เขื่อนสิริกิติ์
เขื่อนสิริกิติ์
เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อสร้างขึ้น ตามโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ "เขื่อนผาซ่อม" ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ก่อสร้างขึ้น ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ58 กิโลเมตร เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าและช่วยระบบชลประทานบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเป็นแหล่งทำอาชีพประมงน้ำจืด และมีทิวทัศน์ที่สวยงามนอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้วยังมีสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม ที่พักทั้งบนบกและแพพักไว้บริการนักท่องเที่ยว
กฟผ.เขื่อนสิริกิติ์ 40 หมู่ 10 ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 53190 ประชาสัมพันธ์ ( เวลาทำการ )
เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อสร้างขึ้น ตามโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ "เขื่อนผาซ่อม" ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ก่อสร้างขึ้น ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ
กฟผ.เขื่อนสิริกิติ์ 40 หมู่ 10 ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 53190 ประชาสัมพันธ์ ( เวลาทำการ )
โทร 055461140 ต่อ 3030 ,3031 โทรสาร 3038
ดอยพระธาตุ (เจดีย์กลางน้ำ)
อยู่ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์เดิมบริเวณนี้เป็นวัดและมีเจดีย์อยู่บนยอดเขาเมื่อสร้างเขื่อนน้ำท่วมแล้วถึงเห็นเป็นเกาะมีเจดีย์ทรงพม่าที่เป็นสถานที่เคารพบูชาของประชาชน จังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับประชาชนชาวอำเภอท่าปลาได้ช่วยกันบูรณะซ่อมแซมจนเป็นสถานที่ที่สวยงามและน่าสนใจแห่งหนึ่ง รอบเจดีย์จะประดิษฐานพระพุทธรูปสลักจากหินทรายจำนวน 14 องค์ ไว้ให้สักการบูชาอีกด้วย
หมู่บ้านประมงตามพระราชเสาวนีย์ (ห้วยเจริญ)
เป็นหมู่บ้านที่ทำการประมงโดยการเลี้ยงปลาในกระชังที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถพระราชทานให้ นอกจากจะได้ชมวิถีชีวิตของชาวประมงนอกจากเลี้ยงปลาในกระชัง ก็ยังมีการยกยอปลาซิวแก้ว และแพตกปลาตะโกกบริเวณรอบๆอีกด้วยหากจะพักก็ยังมีแพพักในลักษณะ HOME STAY ไว้บริการ(จากบริเวณนี้สามารถชมเจดีย์กลางน้ำได้ชัดเจน)
4.19.2553
4.14.2553
สงกรานต์อุตรดิตถ์ ตอนที่ 2
4.12.2553
ของฝากทางบ้าน
คำว่า ตองกง หรือ เดิมชาวบ้านเรียกว่า ต๋อก๋งหรือต๋องก๋ง เป็นดอกของไม้ป่าที่คล้ายๆกับต้นหญ้าสูง
ไม้กวาดตองกง เป็นที่รู้จักกันในจังหวัดอุตรดิถต์ และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ครั้ง สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ตามเสด็จสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนเมืองบางโพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วนำไม้กวาดที่ได้จากเมืองจีนมาฝากพระศรีพนมมาศ ( ทองอิน ) พระศรีพนมมาศ ได้นำวิธีการทำและวัสดุที่นำมาใช้แล้วนำชาวบ้านมาฝึกหัดทำ เพื่อใช้ในบ้าน และนำไปเป็นของฝาก เพื่อให้ผู้รับรู้สึกว่าเป็นของดีไม่ใช่ของต่ำ จึงนำผ้าแดงตัดเป็นชิ้นเล็กๆ สอดหรืดผูกไปกับปลายไม้กวาด ดังนั้นไม้กวาดตองกงมีผ้าสีแดงติดอยู่จึงเป็นเอกลักษณ์ของไม้กวาดเมืองลับแล
ซิ่นตีนจก เป็นซิ่นพื้นเมือง ที่งดงามมีลวดลายสวยไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ซ้ำกับที่อื่น มีการทอและ จำหน่ายที่อำเภอลับแล
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชนทอผ้าซิ่นตีนจก อำเภอลับแล พบว่า ตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มชนมี 2 ตำนานคือ ตำนานการเกิดเมืองลับแล และตำนานสิงหนวัติฉบับ ลาลูแบร์ทั้ง 2 ตำนานชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ว่า กลุ่มชนทอผ้าซิ่นตีนจกอำเภอลับแล ประกอบด้วยกลุ่มชนชาวไทยวน ที่อพยพมาช่วงสมัยพระเจ้าตากสิน จนถึงราวสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และกลุ่มชาวลาวที่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว แถบหัวพัน แขวงซำเหนือ และเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ชาวลาวกลุ่มนี้คือ ไทพวนและไทเหนือ ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในหลวงพระบาง หรือเวียงจันทน์
ขนมเทียนเสวย มีรสชาติที่อร่อย หวานหอมนิยมเป็นของฝาก มีจำหน่ายที่ บ้านกนกมณี ๑๖๕/๒ ถนนบรมอาสน์ อำเภอเมือง (รั้วติดกับ โรงแรมสีหราช) โทร ๐ ๕๕ ๘๓๒๘๖๒ ,๐๘๖ ๕๙๑๐๔๓๒
กล้วยกวน กิมยิ้น เปล่งรัศมี มีทุเรียนกวน มะขามแก้ว ไม้กวาดลับแลอย่างดี จำหน่าย อยู่ที่ ๑๔๒ ถ.บรมอาสน์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ๕๓๐๐๐
สงกรานต์อุตรดิตถ์ ตอนที่ 1
ประเพณีสงกรานต์อุตรดิตถ์ จัดโดยเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์(วันที่ 12 เม.ย.2553) ได้มีการจัดขบวนแห่พระหลวงพ่อเพชร(จำลอง) ของแต่ละชุมชนของเทศบาล เพื่อไปสรงน้ำ ที่ลาน ร.5 เสด็จ ริมน้ำน่าน
ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดย ทำบุญตักบาตร จัดการละเล่นต่างๆ ช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งการรวมญาติ เพิ่มความรักความผูกพันที่ดีต่อกัน ทั้งครอบครัวชุมชนสังคมและศาสนาแสดงความกตัญญูต่อผู้อาวุโสและผู้มีพระคุณรวมทั้งร่วมทำกิจกรรมต่างๆอันเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทยเช่น การสรงน้ำพระรดน้ำขอพรผู้อาวุโส อีกทั้งยังเกิดความสนุกสนาน สานสามัคคี การละเล่นและการสาดน้ำสร้างความรู้สึกผูกพัน กลมเกลียวต่อกัน เป็นการผ่อนคลาย และใช้น้ำดับร้อนช่วงเดือนเมษายน
ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาโดย ทำบุญตักบาตร จัดการละเล่นต่างๆ ช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งการรวมญาติ เพิ่มความรักความผูกพันที่ดีต่อกัน ทั้งครอบครัวชุมชนสังคมและศาสนาแสดงความกตัญญูต่อผู้อาวุโสและผู้มีพระคุณรวมทั้งร่วมทำกิจกรรมต่างๆอันเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทยเช่น การสรงน้ำพระรดน้ำขอพรผู้อาวุโส อีกทั้งยังเกิดความสนุกสนาน สานสามัคคี การละเล่นและการสาดน้ำสร้างความรู้สึกผูกพัน กลมเกลียวต่อกัน เป็นการผ่อนคลาย และใช้น้ำดับร้อนช่วงเดือนเมษายน
4.10.2553
งานเทศกาลและประเพณี
ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ( วันอัฐมี) จัดขึ้นในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ คือประมาณเดือนพฤษภาคม ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล ในงานมีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า การน้อมจิตรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ มีการตกแต่งวัดอย่างสวยงาม พร้อมปฏิบัติธรรมและเทศนาธรรม
งานมนัสการหลวงพ่อโตและมหกรรมของดีเมืองพิชัย จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๖ เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณวัดพระธาตุ เป็นงานมนัสการหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ และชมมหรสพมากมายภายในงาน ติดต่อที่ว่าการอำเภอพิชัย โทร ๐ ๕๕๒๕ ๒๗๔๒-๓
งานมนัสการพระแท่นศิลาอาสน์ พระพุทธบาทยุคล และพระนอนพุทธไสยาสน์ จัดขึ้นในช่วงขึ้น ๘ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชาของทุกปี ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระนอนพุทธบาทไสยาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล มีการจัดงานสมโภช งานมหรสพ และการออกร้านสินค้าพื้นเมือง ติดต่อเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง โทร ๐ ๕๕๔๔ ๒๒๘๔, ๐ ๕๕๕๑ ๓๔๗๑ และอำเภอลับแล โทร ๐ ๕๕๔๔ ๒๐๓๙
งานนมัสการหลวงพ่อเพชร ณ วัดท่าถนน อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งได้จัดขึ้นระหว่างกลางเดือน 4 เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลวงพ่อเพ็ชรประดิษฐานยังวัดท่าถนน เดิมทีชื่อวัดวังตอหม้อ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ครั้งเมื่อ ร.ศ.119 พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสต้นยังเมืองบางโพธิ์ท่าอิฐ (อุตรดิตถ์) ทรงเห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะงดงามมากจึงทรงเลื่อมใสศรัทธา จึงทรงอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรเป็น
เที่ยวอุตรดิตถ์
ภูมิประเทศอันงดงามริมฝั่งแม่น้ำที่มีสภาพแวดล้อมเป็นลักษณะกึ่งภาคเหนือและภาคกลาง ประกอบไปด้วยที่ราบและภูเขาเชื่อมต่อสลับกันนั้น เป็นที่ตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งนอกจากจะเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการคมนาคมที่สำคัญระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอันรวมไปถึงดินแดนล้านช้างในอดีตอีกด้วย จากการติดต่อดังกล่าวเป็นผลให้มีการรับอารยธรรมจากดินแดนและชนกลุ่มอื่น แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมและ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นของอุตรดิตถ์ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นลักษณะสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี สมควรที่จะได้ช่วยกันสงวนรักษาและเผยแพร่ให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของอนุชนรุ่นหลังสืบไป
4.06.2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โพสต์แนะนำ
ที่พักในจังหวัดอุตรดิตถ์
ที่พักใน จังหวัดอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ แนะนำที่พักจากทั่วเมือง ตั้งแต่โรงแรม,รีสอร์ท จนถึงเกสต์เฮาส์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องก...
-
วันนี้ขอแนะนำคาราโอเกะที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ วิง-ออน คาราโอเกะ อยู่บนชั้น 5 โรงแรมฟรายเดย์ สร้างแรงบันดาลใจด้วยเสียงเพลงในตัว...