แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Souvenirs home แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Souvenirs home แสดงบทความทั้งหมด
6.09.2554
ประวัติทุเรียนหลงและหลินลับแล
ทุเรียนพันธุ์ หลงลับแล
ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล ต้นเดิมขึ้นอยู่ที่ม่อนน้ำจำ หมู่ 7 บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าของเดิมคือ นายลม-นางหลง อุประ บ้านเลขที่ 126 หมู่ 1 บ้านนาปอย เขตเทศบาล ตำบลหัวดง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นทุเรียนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ดซึ่งร่วมดำเนินการจัดประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ.2520 และได้รับรองพันธุ์ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2521 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาในปี พ.ศ.2528 สำนักงานเกษตรอำเภอลับแล โดย นายเกรียงไกร คะนองเดชาชาติ เกษตรอำเภอลับแล ได้สนับสนุนให้เกษตรกรในตำบลแม่พูลได้แก่ นายเมือง แสนศรี นายสมบุญ เกิดทุ่งยั้ง และนายแสง ม่านแก้ว นำยอดทุเรียนหลงลับแลจากต้นเดิมมาขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอดจนได้รับความสำเร็จก่อนที่ต้นเดิมจะตายเพราะอายุมาก(อายุประมาณ 60 ปี)
ลักษณะประจำพันธุ์ จากการศึกษาลักษณะพันธุ์ประจำพันธุ์โดยวีเสียบยอด ซึ่งเป็นสวนของนายเมือง แสนศรี (เป็นสวนแรกที่ต้นขยายติดผล) ทุเรียนหลงลับแลมีอายุต้น 15 ปี สูง 11.7 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางพุ่ม 8 เมตร แผ่นใบเรียบแผ่ออกจนเกือบแบนราบ ใบเป็นรูปขอบขนาน (Oblong) อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างใบเท่ากับ 3:19:1 ปลายใบสอบแหลม(Acuminate) โคนใบมน (Obtuse) หลังใบมีเขียวอมสีเหลือง (Yellow Green 146A-147A) กลีบดอกมีสีขาวอมสีเขียว (Green White Green.157A)ผลมีขนาดเล็กถึงปานกลาง น้ำหนักผล 0.5-3.5 กิโลกรัมต่อผล ทรงผลกลม (Round) หรือรูปไข่ (Ovold) ฐานผลค่อนข้างกลม (Evenly Round) หรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย (Sort Necked) ตรงบริเวณหนามรอบขั้วผลปลายผลมน (Obtuse) หรือกลม (Round) ก้านผลมีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1:63 เซ็นติเมตร หนามผลทรงพีรามิด
ขอบหนามโค้งเข้า (Concave Pointed) เปลือกผลมีสีเขียวอมเหลือง (Yellow Green 146A-146C) ร่องพูไม่ชัดเจนเนื้อละเอียด สีเหลืองค่อนข้างจัด(Yellow Group 8B-11C) รสชาดหอมหวานมัน กลิ่นอ่อน อัตราส่วนน้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล 0.35:1 และในหนึ่งผลมีเมล็ดลีบ เฉลี่ยร้อยละ 97.5 อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 105-110 วัน (นับตั้งแต่วันดอกบานจนถึงผลแก่ตัดได้)
ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล
ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล ต้นเดิมปลูกโดยนายหลิน ปันดาล บ้านเลขที่ 126 หมู่ 7 บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวคือในปี พ.ศ.2493 นายหลิน ปันลาด ได้นำเมล็ดทุเรียนมาปลูกแล้วเกิดการ กลายพันธุ์มีลักษณะที่แปลกกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นๆจึงนำให้เพื่อนบ้านกินกันหลายคนบอกว่ามีรสชาติดี ต่อมาในปี พ.ศ.2520 เจ้าของต้นเดิมได้ส่งทุเรียนพันธุ์นี้เข้าประกวดในการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด ซึ่งร่วมดำเนินจัดการประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์ แม้ว่าในปีดังกล้่าวทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจะได้รับรางวัลยอดเยี่ยมก็ตามหลินลับแลก็ยังไดรับความนิยมจากนักบริโภคทุเรียนไม่น้อยกว่าทุเรีบยนพันธุ์หลงลับแล
เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายหลิน ปันลาด ผู้ปลูกทุเรียนต้นเดิมจึงตั้งชื่อทุเรียนพันธุ์นี้ว่า "หลินลับแล"และประกอบกับต้นเดิมขึ้นอยู่ที่บ้านผามูบจึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า"ผามูบ1"หลังจาก นายหลิน ปันดาลถึงแก่กรรม ต้นเดิมจึง อยู่ในความดูแลและขยายพันธุ์โดยนายสว่าง ปันดาล บุตรชาย
ลักษณะประจำพันธุ์ จากการศึกษาลัษณะประจำพันธุ์หลินลับแล ในปี พ.ศ.2543 พบว่าต้นเดิมมีอายุประมาณ 50 ปี สูง 13 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 680 เซนติเมตร ทรงพุ่มรูปกองฟางเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 15 เมตร
ใบเป็นรูปขอบขนาน (Oblong)จนถึงรูปหอกแกมรูปไข่ (Ovate-lanceolate) อัตราส่วนยาวต่อความก้วางใบเท่ากับ 2.85-3.861 ปลายใบสอบแหลม (Acuminate) หรือ สิบแหลมโค้ง (Acuminate-curve) โคนใบมน (Obtrse) หลังใบเขียวแกมเหลือง (Yellow Green Group 146a-147a) กลีบดอกรูปค่อนข้างสั้น อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างกลีบดอกเท่ากับ 2:6:1 กลีบดอกมีสัเหลือง (Yellow Group 8C-13D)
ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก ผล 1.1-1.8 กิโลกรัมผลทรงกระบอก (Cylindroidal) ฐานผลเว้าลึก (Deeply depressed) ปลายผลตัด (Truncate)ก้านผลมีขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.38 เซนติเมตร)หนามผลโค้งแหลม คม(Hooked) เปลือกผลสีเขียวอมเหลือง (Yellow Green Group 144a-152) เนื้อละเอียดมาก สีเหลืองอ่อน (Yellow Group 8d-11d) รสชาติหอมหวาน กลิ่นอ่อนมากอัตราส่วนน้ำหนัก เนื้อต่อน้ำหนักผลเท่ากับ 0.13:1 และในหนึ่งผลมีเมล็ดลีบเฉลี่ยร้อยละ 71.4 อายุการเก็บเกี่ยวผลประมาณ 110-115 วัน(นับตั้งแต่วันดอกบานจนถึงผลแก่ตัดได้)
ที่มา : http://www.uttaradit.go.th/phpbb/viewtopic.php?f=2&t=146
4.12.2553
ของฝากทางบ้าน
คำว่า ตองกง หรือ เดิมชาวบ้านเรียกว่า ต๋อก๋งหรือต๋องก๋ง เป็นดอกของไม้ป่าที่คล้ายๆกับต้นหญ้าสูง
ไม้กวาดตองกง เป็นที่รู้จักกันในจังหวัดอุตรดิถต์ และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ครั้ง สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ตามเสด็จสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนเมืองบางโพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วนำไม้กวาดที่ได้จากเมืองจีนมาฝากพระศรีพนมมาศ ( ทองอิน ) พระศรีพนมมาศ ได้นำวิธีการทำและวัสดุที่นำมาใช้แล้วนำชาวบ้านมาฝึกหัดทำ เพื่อใช้ในบ้าน และนำไปเป็นของฝาก เพื่อให้ผู้รับรู้สึกว่าเป็นของดีไม่ใช่ของต่ำ จึงนำผ้าแดงตัดเป็นชิ้นเล็กๆ สอดหรืดผูกไปกับปลายไม้กวาด ดังนั้นไม้กวาดตองกงมีผ้าสีแดงติดอยู่จึงเป็นเอกลักษณ์ของไม้กวาดเมืองลับแล
ซิ่นตีนจก เป็นซิ่นพื้นเมือง ที่งดงามมีลวดลายสวยไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ซ้ำกับที่อื่น มีการทอและ จำหน่ายที่อำเภอลับแล
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชนทอผ้าซิ่นตีนจก อำเภอลับแล พบว่า ตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มชนมี 2 ตำนานคือ ตำนานการเกิดเมืองลับแล และตำนานสิงหนวัติฉบับ ลาลูแบร์ทั้ง 2 ตำนานชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ว่า กลุ่มชนทอผ้าซิ่นตีนจกอำเภอลับแล ประกอบด้วยกลุ่มชนชาวไทยวน ที่อพยพมาช่วงสมัยพระเจ้าตากสิน จนถึงราวสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และกลุ่มชาวลาวที่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว แถบหัวพัน แขวงซำเหนือ และเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ชาวลาวกลุ่มนี้คือ ไทพวนและไทเหนือ ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในหลวงพระบาง หรือเวียงจันทน์
ขนมเทียนเสวย มีรสชาติที่อร่อย หวานหอมนิยมเป็นของฝาก มีจำหน่ายที่ บ้านกนกมณี ๑๖๕/๒ ถนนบรมอาสน์ อำเภอเมือง (รั้วติดกับ โรงแรมสีหราช) โทร ๐ ๕๕ ๘๓๒๘๖๒ ,๐๘๖ ๕๙๑๐๔๓๒
กล้วยกวน กิมยิ้น เปล่งรัศมี มีทุเรียนกวน มะขามแก้ว ไม้กวาดลับแลอย่างดี จำหน่าย อยู่ที่ ๑๔๒ ถ.บรมอาสน์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ๕๓๐๐๐
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โพสต์แนะนำ
ที่พักในจังหวัดอุตรดิตถ์
ที่พักใน จังหวัดอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ แนะนำที่พักจากทั่วเมือง ตั้งแต่โรงแรม,รีสอร์ท จนถึงเกสต์เฮาส์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องก...
-
วันนี้ขอแนะนำคาราโอเกะที่ทันสมัยที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ วิง-ออน คาราโอเกะ อยู่บนชั้น 5 โรงแรมฟรายเดย์ สร้างแรงบันดาลใจด้วยเสียงเพลงในตัว...