google.com, pub-7210489494173388, DIRECT, f08c47fec0942fa0 อุตรดิตถ์เมืองงาม : Attractions
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Attractions แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Attractions แสดงบทความทั้งหมด

9.20.2558

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

     อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านได้รับการประกาศ เป็นอุทยานแห่งชาตลำดับที่ 87 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2541 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 999.15 ตารางกิโลเมตร (624,468 ไร่) อยู่ใน อ.เมือง จ.แพร่ และ อ.ท่าปลา อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าจริม ป่าน้ำปาด ป่าแม่แคม ป่าแม่ก๋อนและป่าแม่สาย ก่อนยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อม ด้วยสภาพที่มีทั้งพื้นป่าสมบูรณ์และอ่างเก็บน้ำ น้ำอยู่ในพื้นที่เดียวกันทำให้อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านมีสถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามหลากหลายทั้งน้ำตก ภูเขา ตลอดจนทิวทัศน์เหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
     อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน หมูู่ที่ 8 ตำบลผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 53190 โทรศัพท์ : 055 436751,08 5049 4164 Email : reserve@dnp.go.th จองบ้านพักอุทยาน
http://www.dnp.go.th/parkreserve/




1.08.2557

สวัสดีปีใหม่ 2557

..ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่
ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
โปรดดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว
ประสพแต่ความสุขความเจริญ
สัมฤทธิ์ในสิ่งอันพึงปารถนาทุกประการ..
ประมวลภาพ Uttaradit Countdown 2014

10.08.2555

Trip : อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน-ชมรมแบดมินตันอุตรดิตถ์

บันทึกการเดินทาง : เมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 ชมรมแบดมินตันอุตรดิตถ์ มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยว สังสรรค์ พักผ่อน ที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน บรรยากาศ อากาศดีมาก ถ้ามาช่วงฤดูหนาว อากาศจะดีกว่านี้มาก นอนค้างคืน 1 คืนกำลังดี ระยะทางจากตัวเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ 40 กม.ใช้เวลาประมาณ 40 นาที ส่วนบ้านพักมี 3 หลัง บ้าน 101มีเทอเรซ ยื่นออกไปเหมาะสำหรับสังสรรค์มากๆใครสนใจติดต่อไปที่....อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนที่อยู่สูงกว่าระดับเก็บกักน้ำสูงสุดของเขื่อนสิริกิติ์ ประกอบด้วยดอยแม่แนง ดอยสันผักเหียก ดอนสันผาหมู ดอยปางม่วงคำ ดอยผาตืบ ภูพระยาพ่อ ดอยจะคาน เขาหาดหล้า เขาหวยจันทร์ ภูม่อนกระต่าย และภูขอนแก่น เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำยมในเขตจังหวัดแพร่ และลำน้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำน่านในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ น้ำแม่สาย น้ำแม่แนง ห้วยอมถ้ำ ห้วยปันเงิน ห้วยห้วยผาเวียง ห้วยปูโล ห้วยจันทร์ ห้วยม่วง ห้วยกั้ง ห้วยวังคำ และห้วยทราย เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ยามเย็น

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : อ.อิสระ


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : สังสรรค์หมูกระทะ


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : พระจันทร์ยามค่ำคืน



อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : คาราโอเกะ

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : คู่เลิฟ

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : พระจันทร์


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ถ่ายรูปลง FACEBOOK




อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ประธานชมรมฯร้องเพลง


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ประธานชมรมฯร้องเพลง


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ยามเช้า 30-09-55


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ยามเช้า 30-09-55

อุทยานแห่งลำน้ำน่าน : บ้านพัก 101


อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : เทอเรซหน้าบ้านพัก 101

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : ร้องเพลงสุดมันส์


อุทยานแห่งลำน้ำน่าน : วิถีชีวิตชาวบ้านหลังเขื่อน

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน : วิถ๊ชีวิตชาวบ้านหลังเขื่อนสิริกิติ์



12.16.2553

วัดพระฝางสวางคมุนีนาถ

เจดีย์มหาธาตุเมืองฝาง
ตั้งอยู่ที่บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1045 จนถึงทางหลวงสายหลักหมายเลข 11 เลี้ยวขวาไปทางจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากทางแยกเข้า ไปตามถนนลาดยางอีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระฝางสวางคมุนีนาถ ซึ่งในอดีตอาณาบริเวณ วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองสวางคมุนี หรือ เมืองฝางอัน เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเคยเป็นแหล่งชุมนุมก๊กพระเจ้าพระฝางสมัยธนบุรี โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด
พระฝางสวางคมุนีนาถ คือ เจดีย์พระมหาธาตุเมืองฝาง พระวิหารเก่าหลังใหญ่ ที่ผนังด้านหน้ามีประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง เป็นบานประตูไม้แกะสลักงดงามมาก ปัจจุบันนำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย ภายในวิหารมีพระประธานองค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่งและมีพระอุโบสถเก่าหลังหนึ่ง เคยเป็นที่
ประดิษฐานพระฝาง
พระฝางทรงเครื่อง

องค์พระฝาง

ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ให้อัญเชิญไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตรกรุงเทพมหานคร

12.15.2553

บ่อเหล็กน้ำพี้

ดาบเหล็กน้ำพี้
    อยู่หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร มีถนนลาดยางสะดวกต่อการเดินทางมาชมบ่อเหล็กน้ำพี้ เป็นบ่อเหล็กกล้ามีอยู่หลายบ่อด้วยกัน แต่เท่าที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนมีอยู่ 2 บ่อ คือ "บ่อพระแสง"และ"บ่อพระขรรค์" โดยบ่อพระแสงจะเป็นบ่อที่มีเนื้อเหล็กดีกว่า

บ่อพระแสง
บ่อพระขรรค์
บ่ออื่น ในสมัยโบราณนายช่างผู้สร้างพระแสงดาบถวายพระมหากษัตริย์ จะนำเอาเหล็กน้ำพี้ที่บริเวณบ่อพระแสงไปถลุงทำพระแสงดาบ จึงเรียกว่า"บ่อพระแสง"ส่วนบ่อพระขรรค์เข้าใจว่าเป็นบ่อที่นำเอาเหล็กจากบริเวณนี้ไปถลุงทำพระขรรค์ จึงเรียกว่า "บ่อพระขรรค์"
เหล็กน้ำพี้
     เหล็กน้ำพี้ เป็นเหล็กที่มีคุณภาพสูง เมื่อนำมาถลุงได้เนื้อเหล็กแล้วนำไปตีเป็นอาวุธของใช้ต่างๆเนื้อเหล็กจะคมวาว สีเขียวคล้ายปีกแมลงทับ เหนียวและอ่อน ดาบคู่มืออันลือชื่อของพระยาพิชัยดาบหักที่ชื่อว่า"ดาบนันทกาวุธ"นั้นก็ตีจากเหล็กน้ำพี้และมีความเชื่อกันว่าเหล็กน้ำพี้สามารถล้างอาถรรพ์ได้
ขั้นตอนการตีเหล็ก
     บ่อเหล็กน้ำพี้ถือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐ เคยมีผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจพบว่าเป็นแหล่งเหล็กกล้าที่มีคุณภาพดีมาก แต่มีปริมาณน้อยไม่พอที่จะทำการอุตสาหกรรม ปัจจุบันจึงห้ามมิให้ผู้ใดขุดและได้สงวนไว้เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ต่อไป

12.14.2553

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์
     วัดพระแท่นศิลาอาสน์อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระยืนพุทธบาทยุคล มีอาณาเขตติดต่อกัน เชื่อกันมาว่าแต่โบราณว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับนั่งเพื่อบำเพ็ญอธิษฐานพระบารมี ณ แท่นศิลาแลงแห่งนี้ สำหรับพระแท่นเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 ฟุต ยาว 9 ฟุต 8 นิ้ว สูง 3 ฟุต มีมณฑปครอบอยู่ในวิหาร ตัววิหารมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ และ มณฑป

     วัดพระแท่นศิลาอาสน์สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัยคู่มากับเมืองทุ่งยั้ง แต่เพิ่งจะมาเลื่อมใสกันมากในสมัยอยุธยา ดังพระนิพนธ์ว่า"...........ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เมื่อพ.ศ.2283 ได้เสด็จขึ้นไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ และครั้งนั้นได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์มหาเจดีย์สถาน ณ ที่ต่างๆตามหัวเมืองเหนือ แต่พระแท่นศิลาอาสน์คงเป็นที่น่านับถือของมหาชนว่าเป็นมหาเจดีย์สถานมาก่อนรัชกาลพระเจ้าบรมโกศแล้วจึงได้เสด็จไปนมัสการในวิหารยังมี "ธรรมมาสน์"สมัยอยุธยาอยู่อีก 1 ชิ้น ตัว"ธรรมมาสน์"สลักเป็นลายกระจังใบเทศ 3 ชั้น ลงรักปิดทอง ลักษณะอ่อนช้อยงดงามมาก

หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

หลวงพ่อเพชร
     หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปเชียงแสน หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าถนน(เดิมชื่อวัดวังเตาหม้อ)
     ใน พ.ศ.2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ ขณะเดินทางกลับจากรับนิมนต์ ไปทำบรรพชาที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล ได้ผ่านวัดสะแกซึ่งเป็นวัดร้าง พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดินออกพบว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดมีพุทธลักษณะงดงาม หลวงพ่อด้วงจึงนำพระพุทธรูปดังกล่าวมาประดิษฐไว้ที่วัดท่าถนน ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ มีผู้คนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมากประกอบกับเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร คนทั่วไปจึงเรียกกันว่า"หลวงพ่อเพชร"

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นและทรงให้บรรดาหัวเมืองเหนือจัดหาพระพุทธรูปหล่อส่งไปประดับที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร หลวงพ่อเพชรก็ถูกส่งไปด้วยแต่ก่อนนำไปส่ง ทางวัดได้หล่อพระพุทธรูปจำลองลักษณะเดียวกันกับหลวงพ่อเพชรขึ้นเพื่อเป็นองค์แทน หลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลา 10 ปี จึงได้นำกลับมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนนตามเดิม ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป"หลวงพ่อเพชร"ว่า"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจากวัดท่าถนนไปไว้วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ.129 หลวงนฤบาล(จะพันยา)อัญเชิญกลับมาไว้วัดท่าถนน

12.13.2553

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

Phraya Pichai Daphak(The Man who broke his sword during the fight)
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 เวลา 13.15 น. เพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านและเป็นความภูมิใจของชาวอุตรดิตถ์ ในความองอาจกล้าหาญ รักชาติ เสียสละ และความกตัญญูกตเวที อนุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
...........ครั้นเสร็จศึกจากการปราบก๊กเจ้าพระฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทะแกล้วทหารของพระองค์ทั่วถึงกัน สำหรับพระยาสีหราชเดโช(จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น โปรดเกล้าฯบำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัย ปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัยมา ให้มีอำนาจประหารผู้กระทำผิดได้เพราะเมืองพิชัยเป็นเมืองหน้าด่าน ต้องมีการบังคับบัญชาที่เด็ดขาด ซึ่งในเวลานั้นพม่ากำลังมีอำนาจครอบครองอยู่ทั่วลานนา
          เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว พระองค์เจ้าเสด็จกลับกรุงธนบุรี แต่ก่อนจาก ทรงเรียกหาพระยาพิชัยให้เข้าเฝ้าโดยเฉพาะ ทรงรับสั่งอาลัยในมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระองค์ ตั้งแต่ครั้งพระองค์เป็นเจ้าเมืองตากและได้เป็นคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขอาบเหงื่อต่างน้ำมาราชการสงคราม ยังไม่เคยห่างไกลจากพระองค์แม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งเปรียบประดุจพระยาพิชัยเป็นโล่ห์คอยกำบังอาวุธนานาชนิดที่จะมาต้องพระองค์ และในครั้งนี้ต้องจากกันเพราะพระราชประสงค์จะให้พระยาพิชัยเป็นป้อมปราการยันพม่าที่เมืองพิชัยนี้...................
          พระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เมืองพิชัยเป็นที่รวมพลถึงสองครั้งคือ ในปีพ.ศ. 2313 และ2314 และในปีพ.ศ.2315 พม่ายกกำลังมาตีเมืองพิชัยแต่ไม่สามารถตีได้ พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัยอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2316 เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยาพิชัยยกกองทัพไปสกัดทัพพม่าแตกกลับไป การรบในครั้งนี้ ดาบคู่มือของพระยาพิชัยได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่พระยาพิชัยก็ยังคงสู้รบกับพม่าจนได้รับชัยชนะด้วยดาบดีเล่มหนึ่งกับดาบหักอีกเล่มหนึ่ง ด้วยวีรกรรมในครั้งนี้ พระยาพิชัยจึงได้สมญานามว่า"พระยาพิชัยดาบหัก"มาจนถึงปัจจุบันนี้
          เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2317 พระยาพิชัยก็คงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญของกองทัพจนกระทั่งฝ่ายไทยยึดเมืองเชียงใหม่ได้ จึงเป็นอันว่าหัวเมืองฝ่ายเหนือตกเป็นของไทยมาตั้งแต่บัดนั้น

12.12.2553

วนอุทยานต้นสักใหญ่

ต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก
วนอุทยานต้นสักใหญ่ อยู่ที่บ้านปางเกลือ ตำบล น้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 53 กิโลเมตร มีอาณาเขตประมาณ 20,000 ไร่ ประกอบด้วยไม้เบญจพรรณและที่สำคัญวนอุทยานแห่งนี้มีต้นสักที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ มีความสูงถึง 47 เมตร วัดรอบต้นได้ 9.58 เมตร มีอายุราว 1,500 ปี โดยอาศัยการเทียบเคียงขนาดและจำนวนปีจากตอไม้สักบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบันเหลือความสูงประมาณ 37 เมตร เนื่องจากส่วนยอดถูกลมพายุพัดหักแต่ลำต้นทั่วไปยังคงอยู่ในสภาพที่ดี

11.09.2553

รวมน้ำใจชาวเมือง ช่วยชาวสวนลางสาด

ร่วมด้วยช่วยกัน
เมื่อวันเสาร์ที่ 9 ต.ค.2553 - จนถึงปัจจุบัน ห้างฟรายเดย์สรรพสินค้าได้ร่วมกับ ส.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ และ ส.ส.ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ได้จัดงาน"รวมน้ำใจชาวเมือง ช่วยชาวสวนลางสาด"เพื่อช่วยชาวสวนลางสาดจาก อำเภอลับแล,อำเภอเมือง(ต.น้ำริด,ต.บ้านด่านนาขาม) จ.อุตรดิตถ์ เนื่องจากปีนี้ผลผลิตลางสาดออกมาจำนวนมากจนทำให้ราคา ลางสาด ตกต่ำ ทางห้างฟรายเดย์ฯและ ส.ส.ช่วยรับซื้อ ลางสาด จากชาวสวนในราคากิโลกรัมละ 5 บาทและก็ขายในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ประชาชนภายในจังหวัดและต่างจังหวัดช่วยกันซื้อหมดทุกวันเป็นเวลาร่วม 1 เดือนแล้ว เพื่ออนุรักษ์ผลไม้ลางสาดให้ยังคงอยู่กับจังหวัดอุตรดิตถ์ต่อไป(เพราะปัจจุบันชาวสวนลางสาดได้ทาบกิ่งเป็นลองกองกันเป็นจำนวนมาก)และในอนาคตคำขวัญของจังหวัดอุตรดิตถ์จะมีคำว่า"เมืองลางสาดหวาน"อีกหรือไม่
เมืองลางสาดหวาน
ลางสาดหวาน มากมาย

กำลังรับซื้อจากชาวสวน
แบ่งขายเป็นถุงและขายยกเข่ง

โพสต์แนะนำ

ที่พักในจังหวัดอุตรดิตถ์

ที่พักใน จังหวัดอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์         แนะนำที่พักจากทั่วเมือง ตั้งแต่โรงแรม,รีสอร์ท จนถึงเกสต์เฮาส์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องก...