google.com, pub-7210489494173388, DIRECT, f08c47fec0942fa0 อุตรดิตถ์เมืองงาม : ธันวาคม 2010

12.16.2553

วัดพระฝางสวางคมุนีนาถ

เจดีย์มหาธาตุเมืองฝาง
ตั้งอยู่ที่บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1045 จนถึงทางหลวงสายหลักหมายเลข 11 เลี้ยวขวาไปทางจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากทางแยกเข้า ไปตามถนนลาดยางอีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระฝางสวางคมุนีนาถ ซึ่งในอดีตอาณาบริเวณ วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองสวางคมุนี หรือ เมืองฝางอัน เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเคยเป็นแหล่งชุมนุมก๊กพระเจ้าพระฝางสมัยธนบุรี โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด
พระฝางสวางคมุนีนาถ คือ เจดีย์พระมหาธาตุเมืองฝาง พระวิหารเก่าหลังใหญ่ ที่ผนังด้านหน้ามีประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง เป็นบานประตูไม้แกะสลักงดงามมาก ปัจจุบันนำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย ภายในวิหารมีพระประธานองค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่งและมีพระอุโบสถเก่าหลังหนึ่ง เคยเป็นที่
ประดิษฐานพระฝาง
พระฝางทรงเครื่อง

องค์พระฝาง

ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ให้อัญเชิญไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตรกรุงเทพมหานคร

12.15.2553

บ่อเหล็กน้ำพี้

ดาบเหล็กน้ำพี้
    อยู่หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร มีถนนลาดยางสะดวกต่อการเดินทางมาชมบ่อเหล็กน้ำพี้ เป็นบ่อเหล็กกล้ามีอยู่หลายบ่อด้วยกัน แต่เท่าที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนมีอยู่ 2 บ่อ คือ "บ่อพระแสง"และ"บ่อพระขรรค์" โดยบ่อพระแสงจะเป็นบ่อที่มีเนื้อเหล็กดีกว่า

บ่อพระแสง
บ่อพระขรรค์
บ่ออื่น ในสมัยโบราณนายช่างผู้สร้างพระแสงดาบถวายพระมหากษัตริย์ จะนำเอาเหล็กน้ำพี้ที่บริเวณบ่อพระแสงไปถลุงทำพระแสงดาบ จึงเรียกว่า"บ่อพระแสง"ส่วนบ่อพระขรรค์เข้าใจว่าเป็นบ่อที่นำเอาเหล็กจากบริเวณนี้ไปถลุงทำพระขรรค์ จึงเรียกว่า "บ่อพระขรรค์"
เหล็กน้ำพี้
     เหล็กน้ำพี้ เป็นเหล็กที่มีคุณภาพสูง เมื่อนำมาถลุงได้เนื้อเหล็กแล้วนำไปตีเป็นอาวุธของใช้ต่างๆเนื้อเหล็กจะคมวาว สีเขียวคล้ายปีกแมลงทับ เหนียวและอ่อน ดาบคู่มืออันลือชื่อของพระยาพิชัยดาบหักที่ชื่อว่า"ดาบนันทกาวุธ"นั้นก็ตีจากเหล็กน้ำพี้และมีความเชื่อกันว่าเหล็กน้ำพี้สามารถล้างอาถรรพ์ได้
ขั้นตอนการตีเหล็ก
     บ่อเหล็กน้ำพี้ถือเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐ เคยมีผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจพบว่าเป็นแหล่งเหล็กกล้าที่มีคุณภาพดีมาก แต่มีปริมาณน้อยไม่พอที่จะทำการอุตสาหกรรม ปัจจุบันจึงห้ามมิให้ผู้ใดขุดและได้สงวนไว้เป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ต่อไป

12.14.2553

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์
     วัดพระแท่นศิลาอาสน์อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระยืนพุทธบาทยุคล มีอาณาเขตติดต่อกัน เชื่อกันมาว่าแต่โบราณว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับนั่งเพื่อบำเพ็ญอธิษฐานพระบารมี ณ แท่นศิลาแลงแห่งนี้ สำหรับพระแท่นเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 ฟุต ยาว 9 ฟุต 8 นิ้ว สูง 3 ฟุต มีมณฑปครอบอยู่ในวิหาร ตัววิหารมีกำแพงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ และ มณฑป

     วัดพระแท่นศิลาอาสน์สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัยคู่มากับเมืองทุ่งยั้ง แต่เพิ่งจะมาเลื่อมใสกันมากในสมัยอยุธยา ดังพระนิพนธ์ว่า"...........ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เมื่อพ.ศ.2283 ได้เสด็จขึ้นไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ และครั้งนั้นได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์มหาเจดีย์สถาน ณ ที่ต่างๆตามหัวเมืองเหนือ แต่พระแท่นศิลาอาสน์คงเป็นที่น่านับถือของมหาชนว่าเป็นมหาเจดีย์สถานมาก่อนรัชกาลพระเจ้าบรมโกศแล้วจึงได้เสด็จไปนมัสการในวิหารยังมี "ธรรมมาสน์"สมัยอยุธยาอยู่อีก 1 ชิ้น ตัว"ธรรมมาสน์"สลักเป็นลายกระจังใบเทศ 3 ชั้น ลงรักปิดทอง ลักษณะอ่อนช้อยงดงามมาก

หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

หลวงพ่อเพชร
     หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปเชียงแสน หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าถนน(เดิมชื่อวัดวังเตาหม้อ)
     ใน พ.ศ.2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ ขณะเดินทางกลับจากรับนิมนต์ ไปทำบรรพชาที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล ได้ผ่านวัดสะแกซึ่งเป็นวัดร้าง พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดินออกพบว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดมีพุทธลักษณะงดงาม หลวงพ่อด้วงจึงนำพระพุทธรูปดังกล่าวมาประดิษฐไว้ที่วัดท่าถนน ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ มีผู้คนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมากประกอบกับเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร คนทั่วไปจึงเรียกกันว่า"หลวงพ่อเพชร"

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นและทรงให้บรรดาหัวเมืองเหนือจัดหาพระพุทธรูปหล่อส่งไปประดับที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร หลวงพ่อเพชรก็ถูกส่งไปด้วยแต่ก่อนนำไปส่ง ทางวัดได้หล่อพระพุทธรูปจำลองลักษณะเดียวกันกับหลวงพ่อเพชรขึ้นเพื่อเป็นองค์แทน หลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลา 10 ปี จึงได้นำกลับมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนนตามเดิม ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป"หลวงพ่อเพชร"ว่า"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจากวัดท่าถนนไปไว้วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ.129 หลวงนฤบาล(จะพันยา)อัญเชิญกลับมาไว้วัดท่าถนน

12.13.2553

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

Phraya Pichai Daphak(The Man who broke his sword during the fight)
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 เวลา 13.15 น. เพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านและเป็นความภูมิใจของชาวอุตรดิตถ์ ในความองอาจกล้าหาญ รักชาติ เสียสละ และความกตัญญูกตเวที อนุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
...........ครั้นเสร็จศึกจากการปราบก๊กเจ้าพระฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทะแกล้วทหารของพระองค์ทั่วถึงกัน สำหรับพระยาสีหราชเดโช(จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น โปรดเกล้าฯบำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัย ปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัยมา ให้มีอำนาจประหารผู้กระทำผิดได้เพราะเมืองพิชัยเป็นเมืองหน้าด่าน ต้องมีการบังคับบัญชาที่เด็ดขาด ซึ่งในเวลานั้นพม่ากำลังมีอำนาจครอบครองอยู่ทั่วลานนา
          เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว พระองค์เจ้าเสด็จกลับกรุงธนบุรี แต่ก่อนจาก ทรงเรียกหาพระยาพิชัยให้เข้าเฝ้าโดยเฉพาะ ทรงรับสั่งอาลัยในมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระองค์ ตั้งแต่ครั้งพระองค์เป็นเจ้าเมืองตากและได้เป็นคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขอาบเหงื่อต่างน้ำมาราชการสงคราม ยังไม่เคยห่างไกลจากพระองค์แม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งเปรียบประดุจพระยาพิชัยเป็นโล่ห์คอยกำบังอาวุธนานาชนิดที่จะมาต้องพระองค์ และในครั้งนี้ต้องจากกันเพราะพระราชประสงค์จะให้พระยาพิชัยเป็นป้อมปราการยันพม่าที่เมืองพิชัยนี้...................
          พระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เมืองพิชัยเป็นที่รวมพลถึงสองครั้งคือ ในปีพ.ศ. 2313 และ2314 และในปีพ.ศ.2315 พม่ายกกำลังมาตีเมืองพิชัยแต่ไม่สามารถตีได้ พม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัยอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2316 เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยาพิชัยยกกองทัพไปสกัดทัพพม่าแตกกลับไป การรบในครั้งนี้ ดาบคู่มือของพระยาพิชัยได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่พระยาพิชัยก็ยังคงสู้รบกับพม่าจนได้รับชัยชนะด้วยดาบดีเล่มหนึ่งกับดาบหักอีกเล่มหนึ่ง ด้วยวีรกรรมในครั้งนี้ พระยาพิชัยจึงได้สมญานามว่า"พระยาพิชัยดาบหัก"มาจนถึงปัจจุบันนี้
          เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2317 พระยาพิชัยก็คงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญของกองทัพจนกระทั่งฝ่ายไทยยึดเมืองเชียงใหม่ได้ จึงเป็นอันว่าหัวเมืองฝ่ายเหนือตกเป็นของไทยมาตั้งแต่บัดนั้น

12.12.2553

วนอุทยานต้นสักใหญ่

ต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก
วนอุทยานต้นสักใหญ่ อยู่ที่บ้านปางเกลือ ตำบล น้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 53 กิโลเมตร มีอาณาเขตประมาณ 20,000 ไร่ ประกอบด้วยไม้เบญจพรรณและที่สำคัญวนอุทยานแห่งนี้มีต้นสักที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ มีความสูงถึง 47 เมตร วัดรอบต้นได้ 9.58 เมตร มีอายุราว 1,500 ปี โดยอาศัยการเทียบเคียงขนาดและจำนวนปีจากตอไม้สักบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบันเหลือความสูงประมาณ 37 เมตร เนื่องจากส่วนยอดถูกลมพายุพัดหักแต่ลำต้นทั่วไปยังคงอยู่ในสภาพที่ดี

โพสต์แนะนำ

ที่พักในจังหวัดอุตรดิตถ์

ที่พักใน จังหวัดอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์         แนะนำที่พักจากทั่วเมือง ตั้งแต่โรงแรม,รีสอร์ท จนถึงเกสต์เฮาส์ เพื่อตอบสนองทุกความต้องก...